วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
โครงการประกวดออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์แนวความคิด
ก็เพื่อ พัฒนาคุณภาพบุคลากรในด้านการออกแบบ และสร้างกลไกสำหรับพัฒนาหุ่นยนต์ พร้อมสนับสนุนให้นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ได้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันทำ สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคและปัญหาเฉพาะหน้าของการแข่งขัน เพื่อเผยแพร่วิชาการทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและหุ่นยนต์ ตลอดจนสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิต นักศึกษา ต่างสถาบัน และปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนไทยมีความสามัคคี ปรองดองกัน โดยได้รับการสนับสนุนด้านการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจากมหาวิทยาลัย ชั้นนำหลายสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันเทคโนโลยีไทย ญี่ปุ่น เป็น
คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดให้มี การจัดอบรมภาคทฤษฎี และปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบ และสร้างหุ่นยนต์ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 -24 เมษายน 2552 และจัดการแข่งขันรอบแรกในวันที่ 27 เมษายน ถึง 15 พฤษภาคม 2552 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ชั้น 1 โดยมีทีมเยาวชนจากต่างสถาบันเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 10 ทีม สำหรับโจทย์ของการแข่งขันในปีนี้ ยังคงตอบรับกระแสสภาวะโลกร้อน ร่วมรณรงค์สร้างสรรค์กิจกรรมภายใต้แนวคิด “ปลูกต้นไม้ สร้างป่าเขียว ลดโลกร้อน” เพื่อสร้างจิตสำนึกในหมู่เยาวชน คนรุ่นใหม่ ให้เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบของภาวะโลกร้อน
•ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง กติกาการแข่งขันของ RDC 2009 ในรอบชิงชนะเลิศว่า โจทย์ปีนี้แต่เป็นการปลูกต้นไม้ (ต้นกล้าและต้นโพธิ์) ในป่าจำลอง โดยแต่ละทีมซึ่งมีหุ่นยนต์สองตัวมีเวลา 100 วินาที ต้องนำต้นกล้าไปปลูก คะแนนคิดจากจำนวนต้นกล้าที่แต่ละทีมปลูกได้ หรือถ้าปลูกต้นโพธิ์ได้สำเร็จก็จะชนะน็อกเอาท์ทันที ทีมที่ชนะเลิศจะเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วม IDC RoBoCon 2009 ที่ประเทศญี่ปุ่น
ทีมชนะเลิศ
5.นายพรเทพ ชินศรี .. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
บรรยากาศการแข่งขัน
หรือ
(Electrolux Design Lab 2007)
วัตถุประสงค์แนวความคิด
อีเลคโทรลักซ์ ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการประกอบอาหารและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน ได้จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน นักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกอีกครั้งในปีนี้ ด้วยการสนับสนุนให้พวกเขาได้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสำหรับโลกอนาคต โดยในปีนี้หัวข้อที่กำหนดสำหรับการส่งผลงานเข้าประกวดคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ขณะที่สามารถวางจำหน่ายหรือสามารถใช้งานได้จริง รวมถึงทำให้ผู้บริโภคสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น จุดประสงค์ของการออกแบบในปีนี้คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างเรียบง่าย และใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงนำเสนอแนวทางใหม่ๆ เพื่อปลูกฝังให้ทุกคนมีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้งานผลิตภัณฑ์
ข้อมูลรายละเอียด
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและมีชื่อเสียงจากวงการออกแบบในระดับสากล จะทำการคัดเลือกและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดโดยพิจารณาการออกแบบที่เป็นไปตามสัญชาติญาณหรือความรู้สึกโดยทั่วไปของมนุษย์, เป็นการออกแบบนวัตกรรมใหม่ๆ, เป็นงานออกแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการเชิงลึกของผู้บริโภคอย่างแท้จริง รวมทั้งพิจารณาความสามารถในการออกแบบที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในระดับประเทศ และในระดับเอเชียแปซิฟิค จะร่วมเดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมงานประกาศผลรางวัลในโครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ อีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ แล็บ ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยผู้ชนะเลิศระดับโลกประจำโครงการจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 ยูโร (หรือประมาณ 240,000 บาท) และได้รับโอกาสในการฝึกงานกับทีมนักออกแบบในศูนย์การออกแบบระดับโลกของอีเลคโทรลักซ์เป็นระยะเวลา 6 เดือน รองชนะเลิศระดับโลกอันดับที่ 2 จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 ยูโร (หรือประมาณ 144,000 บาท) และรองชนะเลิศอันดับดับที่ 3 จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 2,000 ยูโร (หรือประมาณ 96,000 บาท)
ผู้ชนะเลิศ
แบงค์-ธนัช เต็งอำนวย
รองชนะเลิศอันดับ 1
ชัยยุทธ์ เจนวิริยะโสภาคย์
รองชนะเลิศอันดับ 2
อดิศร จงพานิชกุล
เป็นโครงการออกแบบที่ดีอีกโครงการหนึ่งที่มีแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนำเสนอแนวทางใหม่ๆ เพื่อปลูกฝังให้ทุกคนมีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้งานผลิตภัณฑ์และออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสำหรับโลกอนาคตอีกด้วย
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ปล่อยแสง 3 เด็กฉลาด ชาติเจริญ
โครงการที่ 1
เจ้าของผลงาน มธุรดา เพชรานนท์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Follow your instinct and Drive it with your imagination
แนวความคิด เนื่องมาจาก Life style ของคนยุคใหม่มีความกล้าแสดงออก ต้องการสร้างเอกลักษณ์ของตนและถ่ายทอดความเป็นตัวของตัวเองออกสู่สังคม การทำงานศิลปะบนผ้านั้นเป็นางเลือกให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจมากขึ้น แต่ในประเทศไทยนั้น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับศิลปะบนผ้ามีภาพลักษณ์เชิงอุตสาหกรรม ทำให้คนมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากอีกนึงบรรจุภัณฑ์ยังไม่รองรับพฤติกรรมการใช้งานของคนรุ่นใหม่ได้ daub จึงมีเป้าหมายที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ในการทำงานศิลปะบนผ้า เปลี่ยนทัศนคติให้เป็นเรื่องง่าย สนุก และเปิดรับทุกจินตนาการออกแบบภายใต้แนวความคิด “ Dare to use” ให้คุณกล้าลองทำตามแนวคิดที่ว่า
“Follow your instinct and Drive it with your imagination”
ผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มทำให้เกิดลวดลาย
2. กลุ่มอุปกรณ์
3. กลุ่มผ้า
เหตุผลที่ชอบ เป็นผลิตภัณฑ์ของคนยุคใหม่ที่ ที่จะทำให้กลุ่มวัยรุ่นและคนทั่วไปได้เข้าใจการทำได้ไม่ยาก แถมสามารถแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ของตนเงอได้อย่างเต็มที่อีกด้วย
โครงการที่2
เจ้าของผลงาน ศิรินิม อภินันทกุลชัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามัณฑนศิลป์
Dusit Zoo on The Present Day
(เขาดินวันนี้)
แนวความคิด ต้องการสงเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเขาดิน โดยการออกแบบชุดของที่ละรึกรูปแบบใหม่ ที่น่าสนใจและครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัยของเขาดิน และยังช่วยประชาสัมพันธ์เขาดินให้เป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้น
เหตุผลที่ชอบ ได้เห็นภาพลักษณ์ของเขาดินเปลี่ยนไปใหม่ขึ้น มีความคิดที่สร้างสรรค์ดูทันสมัยเข้ากับยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แถมมีของที่ระลึกเป็นที่เชิญชวนประชาสัมพันธ์ไปในตัวอีกด้วย
โครงการที่3
เจ้าของผลงาน อาทิตยา ศรียาภัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปัตยกรรมศาสตร์
กุ๊ก กุ๊ก กู๋
(ออกแบบตัวละครภูตผีไทยสำหรับสินค้า)
แนวความคิด เป็นการออกแบบตัวละครเพื่อสร้างเอกลักษณ์ และ สร้างโอกาศในตลาดธุรกิจเมอร์ซันไดล์ (Merchandise) โดยนำความเชื่อเรื่องภูติผีของไทยมาสร้างเป็นตัวละครเนื่องจากเรื่องผีจะถูกนำเสนอเพื่อสร้างความหวาดกลัวในรูปแบบต่างๆ และการปลุกฝังค่านิยมบางอย่างของผู้ใหญ่ที่นำเรื่องผีมาใช้เป็นกุศโลบายเพื่อให้ลูกหลานเชื่อฟัง จึงเป็นโอกาศในการออกแบบตัวละครภูติผีไทยให้มีรูปแบบเหมาะสมกับความชอบของกลุ่มเป้นหมายที่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งนอกจะเป็นการสร้างความแตกต่างในตลาดอื่นได้แล้ว ยังเป็นการนำเสนอความเชื่อเรื่องผีในรูปแบบใหม่ที่คนรุ่นหลังน่าจะสามารถเข้าใจได้ และเป็นการสร้างทัศนคติและมุมมองใหม่ความเชื่อเรื่องผีอีกด้วย
ในโครงการนี้ประกอบด้วยการออกแบบ 3 ส่วน
1.ออกแบบตัวละครภูตผีไทย
2.ออกแบบชื่อตราสินค้า
3.ออกแบบเลขนิเทศบนสินค้า
4.ออกแบเว็ปไซด์ส่งเสริมการขาย
เหตุผลที่ชอบ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของการตูนภูติผีไทยในยุคสมัยใหม่และทำให้มีการเปลี่ยนทัศนคติความน่ากลัวของภูติผีไทยใหม่อีกด้วย