วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

นักออกแบบที่ชอบ

วิเวียน เวสต์วูด (Vivienne Westwood)
(ชื่อตามเกิด:วิเวียน อิซาเบล สไวร์ Vivienne Isabel Swire)










วิเวียน เวสต์วูด (ชื่อตามเกิด:วิเวียน อิซาเบล สไวร์ Vivienne Isabel Swire) เกิดที่เมืองกลอสสอปเดล มณฑลดาร์บีเชียร์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1941 เธอเป็นดีไซเนอร์ชาวอังกฤษในแนวพังค์ร็อก และนิวเวฟ ผู้ทรงอิทธิพลในวงการแฟชั่นระดับโลก นับตั้งแต่ยุค 70 ในช่วงของยุค "พังค์" เสื้อผ้าของเธอถูกสวมใส่โดยวง ดนตรีพังค์ร็อกเซ็กซ์ พิสทอลส์ ที่โด่งดังที่สุดในยุค 70 มาจนถึงปัจจุบัน รายได้การขายเสื้อผ้าที่เธอดีไซน์ให้ลูกค้าผู้ดีมากกว่า 32 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1998






ประวัติ
เธอเกิดที่เมืองกลอสสอปเดล มณฑลดาร์บีเชียร์ แม่ของเธอเป็นช่างทอผ้าในโรงงานท้องถิ่น ส่วนพ่อมาจากตระกูลช่างทำรองเท้า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวของเธอได้ดำเนินกิจการไปรษณีย์ย่อยในหมู่บ้านทินทวิสเทิลจนถึงช่วงปลายทศวรรษ 1950 จึงย้ายเข้าไปอยู่ทางฝั่งตะวันเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน
หลังจบโรงเรียนมัธยมของรัฐเมื่ออายุ 16 ปี วิเวียนได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยสอนศิลปะแฮร์โรว์ โดยเลือกวิชาแฟชั่นและการทำเครื่องเงิน แต่หลังจากจบภาคการศึกษาแรก เธอก็ลาออกและมาทำงานในโรงงาน จากนั้นไม่นานเธอได้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นครูโรงเรียนชั้นประถม และเริ่มการทำงานด้วยอาชีพรับจ้างสอนหนังสือนักเรียนประถม เมื่อปี 1962 วิเวียนได้แต่งงานกับ เดเรก เวสต์วูด สามีคนแรกและให้กำเนิดลูกชายคนแรกชื่อว่า เบนจามิน แต่ไม่นานเธอก็สละครอบครัวเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่กับมัลคอม แมคลาเลน นักเรียนศิลปะ (ผู้จัดการวง เซ็กซ์ พิสทอลส์)
ในปี ค.ศ.1970 ประเทศอังกฤษ กำลังตกอยู่ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดอัตราคนว่างงานที่สูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 หนุ่มสาวชนชั้นแรงงานจำนวนมากได้รับผลกระทบนี้ ทำให้วิเวียน เวตส์วูดเปิดกิจการเล็กๆ บนถนนคิงส์ในลอนดอนเป็นร้านขายเสื้อผ้าเก่าราคาถูก โดยใช้ชื่อว่า Let it Rock ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกหลายครั้ง
ในปี 1972 วิเวียนเริ่มสนใจกลุ่มนักซิ่งมอเตอร์ไซต์จึงเปลี่ยนชื่อร้านเป็น “เร็วไปที่จะอยู่ เด็กไปที่จะตาย” ขายชุดหนัง เสื้อสูทแอฟฟาริกันสีจัดและเสื้อยืดแหกกฎ จากนั้นไม่นานเขาก็เปลี่ยนชื่อร้านอีกครั้ง และขายชุดรัดรูป กระโปรงหนังสั้น เสื้อยืดที่ขาดวิ่น ซึ่งนั่นถือเป็นจุดกำเนิดของแนวคิดแบบพังค์ และปัจจุบันนี้ เธอก็ยังคงมีร้านอยู่ที่นี่ภายใต้ชื่อว่า World’s End
ช่วงปลายทศวรรษ 70 วิเวียนถึงจุดอิ่มตัวกับเครื่องแต่งกายแบบพังค์ ช่วงนี้เองถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยน เพราะเธอเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อหาแรงบันดาลใจ จึงปรับโฉมร้านอีกครั้งเรียกว่า“วิลด์สเอ็น” คือการทำแฟชั่นโชว์ 2 คอลเลคชั่นร่วมกันคือ “โรแมนติก ออฟ เดอะ ซี” และ“นอสเตลเจีย ออฟ มัด” สองคอลเลคชั่นนี้เองถือเป็นจุดเปิดอาชีพการเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์อย่างแท้จริงของเวตส์วูด







ตัวอย่างผลงาน
ในปี 1983 เวตส์วูดเริ่มทำคอลเลคชั่น “วิตเชส” ด้วยการผสมแรงบันดาลใจจากของพื้นบ้านกับอุตสาหกรรมการผลิต ในปีค.ศ. 1983 นี้เองผลงานของเธอก็ได้ขึ้นแคทวอล์คที่ปารีส โดยเธอเป็นดีไซเนอร์ชาวอังกฤษคนที่ 2 ต่อจาก Mary Quant
ในปี 1984 เวตส์วูดสร้างชื่อเสียงอีกครั้งด้วยการนำเอารูปทรงรัดรูปของเสื้อผ้าสตรีสมัยก่อนมาตัดทอน และดัดแปลงในคอลเลคชั่น Minicrinis พร้อมรองเท้าส้นตึกอันเป็นสัญลักษณ์ของเธอ ในปี 1987 เวตส์วูดนำคอลเซ็ตมาดัดแปลงเป็นชุด
วิเวียนได้รับรางวัล British Designer ในปี 1990 และในปี 1992 เธอได้รับ รางวัล OBE
สำหรับความกระตือรือร้นในแฟชั่น ในปี 1998 เธอได้รับรางวัล จากราชินีอังกฤษสำหรับยอดการส่งออกที่มากที่สุดในรอบปี และในปี 2003 วิเวียน็เป็นที่รู้จักในนามของ Designer of the year
เธอได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านผู้หญิง (Dame) จากราชสำนักอังกฤษตอบแทนการเป็นดีไซเนอร์ที่สร้างชื่อให้ประเทศ
เธอยังหันมาสร้างสรรค์ผลงานช่วยเหลือสังคม อย่างในช่วงปลายปี ค.ศ. 2005 เธอก็ได้เข้าร่วมโครงการเพื่อสิทธิมนุษยชนของอังกฤษ โดยเธอได้ออกแบบเสื้อยืดสำหรับเด็กและทารกที่สกรีนคำว่า I am not a terrorist, please don’t arrest me (หนูไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ได้โปรดอย่ากักกันหนู) ออกวางขายในจำนวนจัดตัวละ 50 ปอนด์ โดยนำรายได้ทั้งหมดไปสนับสนุนองค์กรนี้






ภาพแสดงตัวอย่างผลงานของวิเวียน เวสต์วูด
(Vivienne Westwood)









งานออกแบบเสื้อผ้า








ผลงานที่ได้ขึ้นแคทวอร์ค



แนวความคิด
ยุคแรก วิเวียนแสดงออกถึงการต่อต้านสังคมระบบชนชั้นผู้ดี ผ่านงานดีไซน์ในหลากวิธี เช่น วัสดุนอกกรอบทั้งกระดูกไก่ ยางรถยนต์ หมุด โซ่ ภาพจากนิตยสารเก่า ฯลฯ ถูกนำมาสร้างเป็นเสื้อยืดดิบๆ ในสังเวียนแฟชั่นยุคแรกคือ วิเวียนไม่ได้ขายแค่เสื้อผ้าสไตล์พังก์ร็อก แต่สิ่งที่เธอพยายามเสนอขายแก่สังคมคือ ทัศนคติ (attitude) ที่ว่า "กล้าที่จะยืนนอกกรอบ แล้วบอกว่านี่คือสิ่งที่ฉันต้องการ"
วิเวียนยังใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเพศอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ลายหน้าอกผู้หญิงและรูปคาวบอยเปลือยบนเสื้อยืด หรือกระดุมรูปศิวลึงค์ รวมทั้งการเฉือนเสื้อผ้าให้ขาดวิ่นเห็นเนื้อหนังบริเวณหน้าอก และการนำชุดชั้นในมาใส่ด้านนอก ฯลฯ "งานของฉันคือการประจันหน้ากับสถาบันทางสังคม พยายามค้นหาว่าอิสรภาพของฉันเองอยู่ที่ไหน และทำอย่างไรเพื่อให้ได้มันมา" วิเวียนใช้เสื้อยืดลามกเป็นสื่อ เพื่อค้นหาจุดยืนและอิสรภาพที่คนชนชั้นกรรมาชีพเช่นเธอโหยหา
เสื้อผ้าของวิเวียนหลายชิ้นมักถูกวิจารณ์ว่า "ใส่จริงไม่ได้" ทั้งความแปลกของวัสดุ ลวดลาย สัดส่วนโครงสร้าง และแพตเทิร์นการตัดเย็บ แต่เธอมีมุมมองว่า "เสื้อผ้าของฉันอาจดูนอกลู่นอกทาง เพียงเพราะผู้คนไม่ได้คาดคิด แต่สิ่งที่ฉันทำก็เพื่อประณามความจืดชืดและความน่าเบื่อของแฟชั่นธรรมดาเหล่านั้น"


เทคนิคและคอนเซ็ปต์
ยุค 1980 เป็นช่วงที่วิเวียนได้แหกกฎการตัดเย็บชั้นสูงแบบอังกฤษ ขณะที่การตัดเย็บสไตล์ผู้ดีอังกฤษจะเน้นสัดส่วนที่เท่ากันทั้งสองข้าง แต่สำหรับวิเวียน สูทของเธออาจมีปกข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง แขนข้างหนึ่งยาวกว่าอีกข้างหรืออาจมีแขนข้างเดียว ชายเสื้อสูทไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากัน หรือแขนเสื้อที่มักโค้งมนตรงไหล่ อาจกลายเป็นมีมุมเหลี่ยม แหลมออกมาจนเวลาใส่ต้องพับมุม คอเสื้ออาจกลายเป็นชายกระโปรง ขณะที่ชายเสื้ออาจถูกใส่แทนคอเสื้อ
หลังจากศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอังกฤษอย่างจริงจัง วิเวียนเริ่มนำภูมิปัญญาแฟชั่นดั้งเดิมมาใช้ เป็นเสมือน "กล้องส่องย้อนอดีตแห่งแฟชั่น" วิเวียนยังสนใจการทำเสื้อผ้าเข้ารูป ด้วยเชื่อว่า "เสื้อผ้าคือการเปลี่ยนรูปทรงของร่างกาย" เธอใช้เทคนิคเพิ่มลดตัดเฉือนเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงทางสรีระผู้สวมใส่ให้ดูดีแบบอุดมคติ และทำให้สิ่งที่เธอคิดว่า ควรจะเป็นส่วนที่ดึงดูดใจที่สุด คือใบหน้าโดดเด่น
วงการแฟชั่นยังยกย่องวิเวียนเป็น "นักคิดทางแฟชั่น" เธอเป็นดีไซเนอร์คนแรกที่เข้าใจเรื่องแพตเทิร์นในมุมมอง 3 มิติอย่างแท้จริง เช่น การใช้ผ้าสี่เหลี่ยม 2 ผืนวางเหลื่อมเย็บติดกันให้เกิดเหลี่ยมแหลมขึ้น หรือการใช้ผ้าสามเหลี่ยมวางเฉียงเย็บติดกันเพื่อตัดเป็นชุดเข้ารูป หรือกระเป๋าเสื้อที่โค้งรอบตัวเสื้อจนเกิดมูฟเมนต์ทุกครั้งที่ผู้สวมใส่เคลื่อนไหว




อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B9%E0%B8%94

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงการประกวดออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โครงการที่1
Robot Design Contest 2009(RDC2009)



วัตถุประสงค์แนวความคิด

ก็เพื่อ พัฒนาคุณภาพบุคลากรในด้านการออกแบบ และสร้างกลไกสำหรับพัฒนาหุ่นยนต์ พร้อมสนับสนุนให้นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ได้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันทำ สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคและปัญหาเฉพาะหน้าของการแข่งขัน เพื่อเผยแพร่วิชาการทางด้านการออกแบบวิศวกรรมและหุ่นยนต์ ตลอดจนสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิต นักศึกษา ต่างสถาบัน และปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนไทยมีความสามัคคี ปรองดองกัน โดยได้รับการสนับสนุนด้านการคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการจากมหาวิทยาลัย ชั้นนำหลายสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต บางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันเทคโนโลยีไทย ญี่ปุ่น เป็น

ข้อมูลรายละเอียด

คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้จัดให้มี การจัดอบรมภาคทฤษฎี และปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบ และสร้างหุ่นยนต์ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 -24 เมษายน 2552 และจัดการแข่งขันรอบแรกในวันที่ 27 เมษายน ถึง 15 พฤษภาคม 2552 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ชั้น 1 โดยมีทีมเยาวชนจากต่างสถาบันเข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 10 ทีม สำหรับโจทย์ของการแข่งขันในปีนี้ ยังคงตอบรับกระแสสภาวะโลกร้อน ร่วมรณรงค์สร้างสรรค์กิจกรรมภายใต้แนวคิด “ปลูกต้นไม้ สร้างป่าเขียว ลดโลกร้อน” เพื่อสร้างจิตสำนึกในหมู่เยาวชน คนรุ่นใหม่ ให้เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบของภาวะโลกร้อน



•ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง กติกาการแข่งขันของ RDC 2009 ในรอบชิงชนะเลิศว่า โจทย์ปีนี้แต่เป็นการปลูกต้นไม้ (ต้นกล้าและต้นโพธิ์) ในป่าจำลอง โดยแต่ละทีมซึ่งมีหุ่นยนต์สองตัวมีเวลา 100 วินาที ต้องนำต้นกล้าไปปลูก คะแนนคิดจากจำนวนต้นกล้าที่แต่ละทีมปลูกได้ หรือถ้าปลูกต้นโพธิ์ได้สำเร็จก็จะชนะน็อกเอาท์ทันที ทีมที่ชนะเลิศจะเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วม IDC RoBoCon 2009 ที่ประเทศญี่ปุ่น

ทีมชนะเลิศ



•รายชื่อสมาชิกทีมสีน้ำตาล

1.นางสาวศนิ กลิ่นสนิท .. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
2.นายสิรวุธ ทัตติยกุล .. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
3.นายพงศกร หาญวารี .. มหาวิทยาลัยสุรนารี
4.นายอนิรุทธิ์ จิตอนันตพร .. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI)
5.นายพรเทพ ชินศรี .. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บรรยากาศการแข่งขัน








ความคิดเห็น

เป็นโครงการที่ดีทางด้านการออกแบบวิศวกรรมพัฒนาหุ่นยนต์และสร้างกลไก ภายใต้แนวความคิดและหัวข้อของกระแสสภาวะโลกร้อนเพื่อสร้างจิตสำนึกในหมู่เยาวชน คนรุ่นใหม่ ให้เล็งเห็นความ สำคัญของผลกระทบของภาวะโลกร้อน

โครงการที่2
อีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ แล็บ” ประจำปี 2550
หรือ
(Electrolux Design Lab 2007)

วัตถุประสงค์แนวความคิด

อีเลคโทรลักซ์ ผู้นำระดับโลกด้านนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการประกอบอาหารและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน ได้จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน นักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลกอีกครั้งในปีนี้ ด้วยการสนับสนุนให้พวกเขาได้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสำหรับโลกอนาคต โดยในปีนี้หัวข้อที่กำหนดสำหรับการส่งผลงานเข้าประกวดคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ขณะที่สามารถวางจำหน่ายหรือสามารถใช้งานได้จริง รวมถึงทำให้ผู้บริโภคสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น จุดประสงค์ของการออกแบบในปีนี้คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างเรียบง่าย และใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงนำเสนอแนวทางใหม่ๆ เพื่อปลูกฝังให้ทุกคนมีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้งานผลิตภัณฑ์

ข้อมูลรายละเอียด

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและมีชื่อเสียงจากวงการออกแบบในระดับสากล จะทำการคัดเลือกและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดโดยพิจารณาการออกแบบที่เป็นไปตามสัญชาติญาณหรือความรู้สึกโดยทั่วไปของมนุษย์, เป็นการออกแบบนวัตกรรมใหม่ๆ, เป็นงานออกแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการเชิงลึกของผู้บริโภคอย่างแท้จริง รวมทั้งพิจารณาความสามารถในการออกแบบที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในระดับประเทศ และในระดับเอเชียแปซิฟิค จะร่วมเดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมงานประกาศผลรางวัลในโครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ อีเลคโทรลักซ์ ดีไซน์ แล็บ ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2550 โดยผู้ชนะเลิศระดับโลกประจำโครงการจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 ยูโร (หรือประมาณ 240,000 บาท) และได้รับโอกาสในการฝึกงานกับทีมนักออกแบบในศูนย์การออกแบบระดับโลกของอีเลคโทรลักซ์เป็นระยะเวลา 6 เดือน รองชนะเลิศระดับโลกอันดับที่ 2 จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 ยูโร (หรือประมาณ 144,000 บาท) และรองชนะเลิศอันดับดับที่ 3 จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 2,000 ยูโร (หรือประมาณ 96,000 บาท)

ผู้ชนะเลิศ

แบงค์-ธนัช เต็งอำนวย

รองชนะเลิศอันดับ 1
ชัยยุทธ์ เจนวิริยะโสภาคย์

รองชนะเลิศอันดับ 2
อดิศร จงพานิชกุล
ความคิดเห็น

เป็นโครงการออกแบบที่ดีอีกโครงการหนึ่งที่มีแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมนำเสนอแนวทางใหม่ๆ เพื่อปลูกฝังให้ทุกคนมีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้งานผลิตภัณฑ์และออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสำหรับโลกอนาคตอีกด้วย

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง 3 เด็กฉลาด ชาติเจริญ

นิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์อันไร้ขีดจำกัดของนักศึกษาอย่างเต็มที่ ให้นิสิตนักศึกษาจากทั่วประเทศได้พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบ การรุ่นใหม่ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้จากมันสมองและสองมือ พร้อมเปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจได้รู้จักกับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ไฟแรงจาก ทุกสาขาวิชา เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ธุรกิจที่แข็งแกร่งพร้อมขับเคลื่อนสังคมให้เจริญก้าวหน้าต่อไป


โครงการที่ 1

เจ้าของผลงาน มธุรดา เพชรานนท์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

Follow your instinct and Drive it with your imagination

แนวความคิด เนื่องมาจาก Life style ของคนยุคใหม่มีความกล้าแสดงออก ต้องการสร้างเอกลักษณ์ของตนและถ่ายทอดความเป็นตัวของตัวเองออกสู่สังคม การทำงานศิลปะบนผ้านั้นเป็นางเลือกให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจมากขึ้น แต่ในประเทศไทยนั้น ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับศิลปะบนผ้ามีภาพลักษณ์เชิงอุตสาหกรรม ทำให้คนมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าถึงยากอีกนึงบรรจุภัณฑ์ยังไม่รองรับพฤติกรรมการใช้งานของคนรุ่นใหม่ได้ daub จึงมีเป้าหมายที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ในการทำงานศิลปะบนผ้า เปลี่ยนทัศนคติให้เป็นเรื่องง่าย สนุก และเปิดรับทุกจินตนาการออกแบบภายใต้แนวความคิด “ Dare to use” ให้คุณกล้าลองทำตามแนวคิดที่ว่า
“Follow your instinct and Drive it with your imagination”

ผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. กลุ่มทำให้เกิดลวดลาย
2. กลุ่มอุปกรณ์
3. กลุ่มผ้า










เหตุผลที่ชอบ เป็นผลิตภัณฑ์ของคนยุคใหม่ที่ ที่จะทำให้กลุ่มวัยรุ่นและคนทั่วไปได้เข้าใจการทำได้ไม่ยาก แถมสามารถแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ของตนเงอได้อย่างเต็มที่อีกด้วย


โครงการที่2

เจ้าของผลงาน ศิรินิม อภินันทกุลชัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามัณฑนศิลป์

Dusit Zoo on The Present Day
(เขาดินวันนี้)

แนวความคิด ต้องการสงเสริมและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเขาดิน โดยการออกแบบชุดของที่ละรึกรูปแบบใหม่ ที่น่าสนใจและครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัยของเขาดิน และยังช่วยประชาสัมพันธ์เขาดินให้เป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้น







เหตุผลที่ชอบ ได้เห็นภาพลักษณ์ของเขาดินเปลี่ยนไปใหม่ขึ้น มีความคิดที่สร้างสรรค์ดูทันสมัยเข้ากับยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี แถมมีของที่ระลึกเป็นที่เชิญชวนประชาสัมพันธ์ไปในตัวอีกด้วย



โครงการที่3

เจ้าของผลงาน อาทิตยา ศรียาภัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปัตยกรรมศาสตร์

กุ๊ก กุ๊ก กู๋
(ออกแบบตัวละครภูตผีไทยสำหรับสินค้า)

แนวความคิด เป็นการออกแบบตัวละครเพื่อสร้างเอกลักษณ์ และ สร้างโอกาศในตลาดธุรกิจเมอร์ซันไดล์ (Merchandise) โดยนำความเชื่อเรื่องภูติผีของไทยมาสร้างเป็นตัวละครเนื่องจากเรื่องผีจะถูกนำเสนอเพื่อสร้างความหวาดกลัวในรูปแบบต่างๆ และการปลุกฝังค่านิยมบางอย่างของผู้ใหญ่ที่นำเรื่องผีมาใช้เป็นกุศโลบายเพื่อให้ลูกหลานเชื่อฟัง จึงเป็นโอกาศในการออกแบบตัวละครภูติผีไทยให้มีรูปแบบเหมาะสมกับความชอบของกลุ่มเป้นหมายที่เป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งนอกจะเป็นการสร้างความแตกต่างในตลาดอื่นได้แล้ว ยังเป็นการนำเสนอความเชื่อเรื่องผีในรูปแบบใหม่ที่คนรุ่นหลังน่าจะสามารถเข้าใจได้ และเป็นการสร้างทัศนคติและมุมมองใหม่ความเชื่อเรื่องผีอีกด้วย

ในโครงการนี้ประกอบด้วยการออกแบบ 3 ส่วน

1.ออกแบบตัวละครภูตผีไทย
2.ออกแบบชื่อตราสินค้า
3.ออกแบบเลขนิเทศบนสินค้า
4.ออกแบเว็ปไซด์ส่งเสริมการขาย















เหตุผลที่ชอบ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของการตูนภูติผีไทยในยุคสมัยใหม่และทำให้มีการเปลี่ยนทัศนคติความน่ากลัวของภูติผีไทยใหม่อีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Movie HOME

หนังเรื่อง HOME

ในความคิดส่วนตัวผมแล้วมีความรู้สึกถึงการสะท้อนถึงสังคมในยุคสมัยนี้และเริ่มจะร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ เพราะสังคมใช้ทรัพยากรณ์ธรรมชาติโดยไม่ไตร่ตรองและไม่คำนึงถึงอนาคต ซึ่งเราจะใช้หมดไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเราควรจะช่วยกันรณรงค์ รักษาการใช้ทรัพยากรณ์ให้น้อยลงและดูแลทรัพยากรณ์ไว้ให้อยู่กับเรานานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าเรายังใช้พลังงานโดยสิ้นเปลืองอย่างนี้เราจะไม่มีโลกให้เราอาศัย รวมไปถึงระบบนิเวศจะเสียไปหมด เช่น ระบบของ พืช สัตว์ ไม่มีแผ่นดินที่มีต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าสูญพันธ์ เพราะการใช้ทรัพยากรณ์พร้อมทั้งทำลายระบบนิเวศโดยที่ไม่รู้ตัว





ในกรุงเทพนั้น กว่าจะเห็นต้นไม้สักต้นสถานที่ สวนสาธารณะดีๆ บรรยากาศที่ดี ก็อยากลำบากเหลือเกิน แต่ก็ต้องเจอกับมลพิษจากรถที่ปล่อยออกมา ในแต่ละวัน ที่มากมายนัก ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก จากที่เคยมีอากาศที่บริสุทธิ์กลับกลายเป็นมลพิษที่อยู่ในอากาศ ซึ่งอากาศสมัยนี้ก็ร้อนขึ้นทุกวันเพราะการใช้อย่างเห็นแก่ตัว โรงงานต่างๆที่ปล่อยมลพิษออกมาและทำให้อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราต้องช่วยกันดูแลเป็นหูเป็นตา



สิ่งที่ชอบ
ชอบการทำภาพให้เราดูแล้วเข้าใจ มุมมองที่สวยและสื่อออกมาได้อย่างดี ซึ่งแต่ฉากก็จะมีภาพที่สวยงาม แต่แฝงไปด้วยความที่เขาได้ใส่ความรู้สึกบางอย่าง ที่เราดูแล้วรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรง





คำแนะนำ
อยากให้พวกเราทุกคน ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยกันปลูกต้นไม้เยอะๆ อยู่คนละต้น เพราะไม่ยากเลยที่จะปลูกต้นไม้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ หันมาใช้รถโดยสารแทนรถส่วนตัว ช่วยลดมลพิษทางอากาศพวกเราจะได้มีอากาศที่บริสุทธิ์เพื่อที่จะเอาไว้หายใจ อากาศที่ร้อนอบอ้าวจะได้เบาบางลง หากพวกเรายังเห็นแก่ตัวอยุ่คงไม่มีอะไรดีขึ้น มีแต่จะแย่ลงเรื่อย ๆ






Key word 10 คำ


ป่า คือ แม่และพ่อของสายฝน
ป่า คือ หลักกิโลที่ต้องพึ่งพา
1 ในสาเหตุที่ทำลายป่าโกงกาง คือ นากุ้ง
อาเมซอล เป็นป่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มีคนตาย 5.000 คนต่อวันด้วยมลพิษ
3 ใน 4 ของพื้นที่ประมงมีปลาทะเลน้อยลง
ทุกๆปี ป่าจะหายไป 13 ล้านตารางเมตร
1 พันล้านคนต้องหิวโหย
การทำลายป่าทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
สิ่งมีชีวิตทุกอย่างเกี่ยวข้องกับ ดิน น้ำ อากาศ มลตรา